บรรยายโดย อาจารย์ตันติกร พิชญ์พิบูล
วันที่ 9 ส.ค. 2557
กรณีศึกษา
SCG PAPERS (การขนส่งไม้)
ข้อเท็จจริง มีการทำ Contract Farming ระหว่าง บริษัท กับ เกษตรกรผู้ขายไม้ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตพอที่จะตัดขายได้ (ราวๆ 5 ปี) ทางบริษัทจะมารับซื้อไป บริษัทจะนำไม้ทั้งหมดมากองรวมกันที่กลางแจ้ง
ประเด็นที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์
- แม้ไม้จะตากแดดตากฝนก็ยังมีกระบวนการกำจัดความชื้นออกไป ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าการสร้างคลังเก็บไม้ (Warehouse)
- ต้นยูคาลิปตัสที่ปลูก ปลูกอยู่แถวไหน โรงงานของบริษัทควรตั้งอยู่แถวไหนจึงจะเหมาะสม (Location)
- สินค้าจะมาส่งถึงลูกค้าต้องใช้ระยะเวลากี่วัน (Delivery time)
SCG PAPERS (การขนส่งไม้)
ข้อเท็จจริง เกษตรกรผู้ขายไม้จะนำไม้มาส่งที่โรงงานโดยรถบรรทุก ซึ่งจุดที่จะต้องผ่านเป็นอันดับแรกเรียกว่า Register เพื่อลงทะเบียนก่อนเข้าไปยังโรงงาน จากนั้นจะไปที่จุดชั่งน้ำหนักไม้ สำหรับชั่งน้ำหนักไม้ในครั้งแรก เรียก Weight in ต่อมาจะนำไม้ออกจากรถไปกองรวมกันที่ลานกลางแจ้ง และตอนขาออกจากโรงงานจะชั่งนำหนักอีกที เรียก Weight out เพื่อหาส่วนต่างระหว่างขาเข้ากับขาออก จากนั้นผู้ขายจะรอรับเงินทันที
ประเด็นปัญหาแรก
- จุด Register จำเป็นต้องลงทะเบียนผู้ขายก่อนทำการซื้อขายไม้ หลายครั้งต้องใช้ระยะเนิ่นนานกว่าจะลงทะเบียนสำเร็จ
- ในการลงทะเบียนจะกรอกข้อมูลผู้ขายและพิมพ์ใบออกมา พร้อมทั้งเขียนด้วยลายมือของผู้ขายบางส่วน ในบางทีผู้ขายทำใบนี้หาย หรือทำเลอะก่อนที่จะมาถึงจุด Weight out ทำให้ข้อความขาดขาดตกบกพร่อง หรือเลือนหายไป
- มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ เพื่อลดระยะเวลาในแต่ละขั้นตอนลง เช่น จุด Weight out ในการคำนวณการจ่ายเงินจากเดิมจะคิดด้วยเครื่องคิดเลข ก็เปลี่ยนมาใช้ MIS แทน
ประเด็นปัญหาที่สอง
- ความล่าช้าในการวางแผนการใช้รถ (วันนี้จะใช้รถกี่คัน, รถที่ว่างอยู่มีกี่คัน เป็นต้น)
วิธีการแก้ไข
- พัฒนาระบบ Register จากเดิมใช้ระบบเอกสารแบบ Manual ก็เปลี่ยนมาใช้ระบบ RFID
SCG PAPERS (SIAM FORESTRY)
ข้อเท็จจริง คู่แข่งขันของบริษัทเปิด Hub ตามจังหวัดต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรผู้ขายไม้ แม้ทางบริษัทจะให้ราคาไม้ต่อตันดีกว่าบริษัทของคู่แข่ง แต่เกษตรกรยังคงยอมได้รับเงินน้อยกว่า แลกกับแหล่งรับซื้อไม้ที่ใกล้ที่สุด
ประเด็นปัญหา
- จะทำอย่างไรให้เกษตรกรผู้ขายไม้ยอมขายไม้ให้กับทางบริษัท
วิธีการแก้ไข
- เปิด Hub เช่นเดียวกับบริษัทคู่แข่งขัน
- บริษัทคู่แข่งขันใช้ระบบ Real time บริษัทเราใช้แบบ Stand alone
WANGKANAI (EXPORT CHANNEL)
ข้อเท็จจริง น้ำตาลมีการขนส่งแบบกระสอบ (Packed) และแบบเทกอง (Bulk)
ประเด็นปัญหา
- ขนส่งรูปแบบใดที่ต้นทุนต่ำสุด
วิธีการแก้ไข
- ใช้ทางเรือ เนื่องจากต้นทุนถูกที่สุดเมื่อเทียบกับขนส่งทางบก และควบคุมเวลาได้ดีกว่า
- ใช้ Genetic Algorithm
WANGKANAI (MODERN TRADE)
ข้อเท็จจริง การขนส่งสินค้า จะมีรถของบริษัทเอง และ Outsource
CENTRAL RETAIL CORPORATION
ข้อเท็จจริง การจัดเส้นทางการขนส่งจัดกลุ่ม Cluster แบ่งเป็นโซน
ข้อเท็จจริง การจัดเส้นทางการขนส่งจัดกลุ่ม Cluster แบ่งเป็นโซน
KUDSON
ข้อเท็จจริง ใช้ palette เพียงขนาดเดียว บรรทุกใส่รถได้ 90 palette
ประเด็นปัญหา
- ถ้า palette มีขนาดต่างกัน สินค้าคนละประเภทจะใช้ palette อย่างไร ใส่ขึ้นรถได้เท่าไหร่
วิธีการแก้ไข
- ใช้ Genetic Algorithm และ Visual Basic Algorithm
SEC Case
ข้อเท็จจริง รถที่ใช้ในการขนส่งติด GPRS แต่ขาดวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ใช้การคำนวณระยะทางแบบกะเอา (Manual)
สูตรการคำนวณและ
ทฤษฎีที่ใช้คำนวณการขนส่งแบบต่างๆ
สูตรการคำนวณต้นทุนการขนส่ง
- ระยะทาง (กม.) x ค่าใช้จ่ายต่อ 1 กม.
- นำ้หนัก (กก.) x ระยะทาง (กม.) x ค่าใช้จ่ายต่อ 1 กม.
ข้อน่ารู้
- วิธีการในรูปแบบเดิมจะใช้เพียงแค่ "ระยะทาง" ที่ใกล้ที่สุด ต่อมาเริ่มพัฒนาแนวคิดว่าต้องดู "น้ำหนักของสินค้า" ด้วย
- ในการส่งของที่หนักที่สุดก่อน จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
CLARKE-WRIGHT SAVINGS PROBLEM
เงื่อนไข
- 1 วัน ส่งของได้น้อยครั้ง
- ทราบความต้องการของลูกค้าที่แน่นอน
- ลูกค้าแต่ละรายต้องการปริมาณของมากน้อยแตกต่างกัน
- (รายละเอียดค้นคว้าเพิ่มเติม)
HARMONY SEARCH ALGORITHM
- (รายละเอียดค้นคว้าเพิ่มเติม)
HONEY BEE MATING ALGORITHM
- (รายละเอียดค้นคว้าเพิ่มเติม)
GOLDEN BALL ALGORITHM
- (รายละเอียดค้นคว้าเพิ่มเติม)
![]() |
ภาพประกอบ : www.bnm-slovakia.sk/o-nas |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น